วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

5.5 Memory Card

นับถอยหลังไปไม่นาน เมื่อเอ่ยถึงหน่วยความจำ หลายคนจะนึกถึง แผงวงจรสีเขียวที่มี ชิปเซตติดอยู่หลายตัว ซึ่งนั่นก็หมายถึงหน่วย ความจำ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง แต่ ณ เวลานี้ หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ และจำเป็นสำหรับอุปกรณ์ที่ต้อง อาศัยการบันทึกข้อมูลเป็นหลัก
           นับถอยหลังไปไม่นาน เมื่อเอ่ยถึงหน่วยความจำ หลายคนจะนึกถึง แผงวงจรสีเขียวที่มี ชิปเซตติดอยู่หลายตัว ซึ่งนั่นก็หมายถึงหน่วยความจำสำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง แต่ ณ เวลานี้ หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยการบันทึก ข้อมูลเป็นหลัก โดยเฉพาะ อุปกรณ์มัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น กล้องวีดีโอ, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, เครื่องเล่น MP3, PDA รวมถึงโทรศัพท์ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวล้วนแต่ต้องอาศัยหน่วยความจำ สำหรับการทำงานเพื่อใช้ในการการบันทึกข้อมูลทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันที่ชนิดของหน่วยความจำสำหรับรองรับการใช้งาน โดยปัจจุบันหน่วยความจำที่รองรับ อุปกรณ์มัลติมีเดียนี้มีมากมายหลากหลายแบรนด์เนมและขนาดความจุ ซึ่งวันนี้เรามาทำการรู้จักคุณสมบัติการทำงานของหน่วยความจำเหล่านั้นกัน

CompactFlash Card (CF Card)

CompactFlash Card
           เป็นเมโมรีการ์ดที่รองรับการทำงานของ อุปกรณ์ มัลติมีเดีย ได้หลากหลายทั้ง กล้องถ่ายรูปดิจิตอล PDA รวมถึง เครื่องเล่น MP3 โดยตัวการ์ดมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า กว้าง 1.433 นิ้ว ยาว 1.685 นิ้ว จึงทำให้มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด น้ำเบา และสะดวกสบายเมื่อมีการเคลื่อนย้ายหรือพกพาติดตัว อีกทั้งยังดูแข็งแรงทนทานมากที่สุดเมื่อเทียบกับ เมโมรี่การ์ดชนิดอื่นๆ คอมแพคแฟลชการ์ด เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนา โดยบริษัท แซนดิสก์ (SanDisk) ในปี 1994 จนปัจจุบันหน่วยความจำนี้ทาง Compact Falsh Association (CFA) ได้กำหนดมาตรฐาน สำหรับหน่วยความจำ นี้ไว้ 2 ประเภท นั่นคือ Type I (CF-I) และ Type II (CF-II) ซึ่งมาตรฐาน Type I เป็นรูปแบบเก่า ที่มีมิติ 36(L) X 43(W) x 3.3(H) มิลลิเมตร ส่วน Type II (CF-II) ถูกพัฒนาจาก Type I ให้สามารถรองรับการบันทึกข้อมูลที่มากขึ้นพร้อมกับความเร็วในการอ่าน และบันทึกข้อมูลได้สูงกว่าหรือเร็วกว่า รูปแบบเดิม Type I ถึง 4 เท่าตัว มีขนาดของมิติที่ 42.8(L) X 3.6.4(W) x 5.0(H) มิลลิเมตร ซึ่งปัจจุบันความเร็วในการบันทึกและการอ่าน ของหน่วยความ จำนี้จะอยู่ที่ประมาณ 12X จนถึง 40X ซึ่งถือเป็นความเร็วที่สูงสุดในขณะนี้ (ค่าของ การถ่ายเทข้อมูล 150 กิโลไบท์ต่อวินาที : 150x24 ~ 3 เมกะไบต์ต่อ วินาที) เหตุผลหนึ่งที่ ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้ครองส่วนแบ่งการตลาด ของอุปกรณ์การ์ดหน่วยความจำมากที่สุดนั่น คือ บริษัทผู้ริเริ่มการผลิตได้ขายสิทธิ์ ในการผลิตคอมแพค แฟลชการ์ด ให้กับบริษัทผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปและบริษัทภายนอกอื่นๆ มากมาย จึงทำให้หน่วยความจำ ชนิดนี้ถูกผลิตออกสู่ตลาดมากมาย หลายรุ่นหลายแบรนด์เนมส่งผลให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ในเลือกซื้อหน่วยความจำ ได้ในราคาที่ไม่สูง
Smart Media Card
Smart Media Card
           สมาร์ทมีเดียการ์ดถูกพัฒนาขึ้นในปี 1995 โดยบริษัท Toshiba มีขนาดรูปร่างที่บาง เพียง 0.2 มิลลิเมตร 37(L) X 45(W) x 0.2(H) มิลลิเมตร ลักษณะภายนอกของหน่วยความจำนี้มีขนาดเท่ากับแสตมป์ มีแผงวงจรที่มีลักษณะคล้ายกับซิมการ์ด ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของหน่วยความจำ สมาร์ทมีเดีย การ์ดนั่นคืออัตราความ เร็วในการทำงานทั้งการอ่านและการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่รวดเร็ว จึงทำให้เป็นอีกหน่วยความจำหนึ่งที่ครองใจผู้ใช้งาน ที่ต้องการความ สะดวกรวดเร็ว เป็นอย่างมาก โดยความเร็วในการอ่านข้อมูลที่สูงถึง 1.5 เมกะไบต์ต่อวินาที และการเขียนข้อมูลที่ 800 กิโลไบต์ต่อวินาที โดยที่ไม่ต้องใช้ เทคโนโลยีในการทวีความเร็ว แต่อย่างใด นอกจากนั้นสมาร์ทมีเดียการ์ดยังมีจุดเด่น ในเรื่องของ การประหยัดพลังงาน ซึ่งจะ ส่งผลทำให้สามารถยืดอายุการ ใช้งานของแบตเตอรี่ ให้ยาวนานขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสมาร์ทมีเดีย การ์ดนี้ยังมีข้อเสียตรงที่ไม่มีไดรเวอร์ในตัว จึงทำให้ไม่สามารถขยายขนาดความจุให้เพิ่ม มากเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งปัจจุบันหน่วยความจำ นี้เริ่มจะไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากถูกหน่วยความจำ ชนิดอื่นๆ มาแทนที่มากขึ้น โดยอุปกรณ์มัลติมีเดียที่ใช้ หน่วยความจำนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกล้องถ่ายรูปทั้ง Fuji และ Olympus หลายฝายคาดกันว่าภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าหน่วยความจำนี้จะถูกเลิกใช้
MultiMedia Cards (MMC Card)
MultiMedia Cards
           เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำสำหรับบันทึกข้อมูลที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทแซนดิสก์และซีเมนต์ ในปี 1997 ซึ่งเกิดจากแรงผลักดัน ของกระแสความนิยม ของอุปกรณ์ระบบมัลติมีเดียที่ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง จนหน่วยความจำอย่าง CompactFlash และ SmartMedia ไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์มัลติมีเดีย ที่มีขนาดเล็กเหล่านั้น ดังนั้นจึงมีการเปิดตัวการ์ด MultiMedia Memory (MMC) ออกมา ซึ่งมีขนาดของมิติเพียง 32(L) X 24(W) x 1.2(H) มิลลิเมตรเท่านั้น เป็นเมโมรีการ์ดที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ มัลติมีเดียอาทิ PDA, เครื่องเล่นเพลง MP3, กล้อง ดิจิตอลรวมถึงโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต MultiMedia Cards จุดเด่นของหน่วยความจำชนิดนี้อยู่ที่ขนาดที่เล็กและบาง รองรับการเชื่อม ต่อแบบเดียวกันกับหน่วยความจำ SD Card อย่างไรก็ตามหน่วยความจำ MMC Card ยังมีข้อเสียอยู่ที่ขนาดความจุ ที่ยังไม่หลากหลายสำหรับผู้ใช้งานมาก นักอีกทั้งราคาก็ค่อน--ข้างสูง เมื่อเทียบกับหน่วยความจำชนิดอื่นอย่าง CompactFlash หรือ SmartMedia ที่มีขนาดความจุรองรับการทำงาน ของผู้ใช้ งานที่หลากหลายและราคาที่ไม่แพงมากนัก
• SD Card (Secure Digital Card)
SD Card
           อีกหนึ่งหน่วยความจำที่มีความโดดเด่นในเรื่องความสามารถนอกเหนือจากประสิทธิภาพการทำงานนั่นคือ เรื่องของความปลอดภัย และการป้องกันการ ปรับเปลี่ยนข้อมูล ที่ผู้ใช้งานสามารถ ป้องกันการเขียนแผ่นได้ เฉกเช่นเดียวกับแผ่น Floppy Disk เอสดีการ์ด เดิมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อบันทึก ข้อมูลเพลง หรือภาพยนตร์ เพื่อป้องกันการบันทึก (Write Protect) และช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิ์ เอสดีการ์ดเป็นหน่วยความจำ ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาที่ต่อเนื่อง มาจากหน่วยความจำ MMC Card จึงทำให้มีขนาดเท่ากัน กับ หน่วยความจำ MMC Card เพียงแต่ว่าความหนาเพิ่มขึ้นมาในขนาด 2.1 มิลลิเมตรเท่านั้น โดยขนาดมิติของหน่วยความจำเอสดีการ์ดอยู่ที่ 32(L) x 24(W) x 2.1(H) มิลลิเมตร จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของหน่วยความจำเอสดีการ์ดนั่นคือ ความเร็วในการ เขียนอ่านข้อมูล ที่เพิ่มสูงขึ้น ขนาดความจุดที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งรูปแบบการต่อเชื่อม สามารถประยุกต์ให้อุปกรณ์ ขนาดเล็กต่างๆ มาต่อเชื่อมเข้ากับ SD Slot ได้ ทำให้สามารถรองรับอุปกรณ์ต่อเชื่อมได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โมเด็ม, กล้องดิจิตอล, เครื่องเล่น MP3 ที่ผ่านการต่อเชื่อม SD Slot เพื่อรองรับอุปกรณ์ PDA อย่าง Palm ซึ่งนับเป็นจุดเด่นเฉพาะตัว ที่ทำให้มาตรฐานชนิดนี้ มีความโดดเด่นใกล้เคียงกับหน่วยความจำ Compact Flash
Memory Stick
Memory Stick
           เมโมรีสติ๊ก เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการคิดค้น โดยบริษัทผู้ผลิต Sony ซึ่งเดิมเป็นหน่วยความจำที่ออกมารองรับอุปกรณ์มัลติมีเดีย ของทาง Sony โดยเฉพาะ แต่ปัจจุบันหน่วยความจำ นี้สามารถ รองรับอุปกรณ์มัลติมีเดียได้มากมายทั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์แบบPC, กล้องดิจิตอล, เครื่องเล่น MP3 และ PDA โดยเมโมรีสติ๊กมีรูปร่างเป็นแท่งแบนยาวขนาดของมิติอยู่ที่ 50 x 21.5 x 2.8 มิลลิเมตร สามารถจุข้อมูลได้มากถึงระดับ กิกะไบต์และมีความเร็วในการบันทึกสูง ด้วยขนาด ที่เล็กและบางจึงสะดวกต่อการนำพกพาติดตัว จุดเด่นของ Memory Stick อยู่ที่ ความรวดเร็ว ในการถ่ายโอนข้อมูล ที่สูงระดับ 1.3 MB ต่อ วินาที ซึ่งถือว่าสูงทีเดียว ช่วยให้การเขียนอ่านข้อมูลเป็น ไปด้วยความรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้หน่วยความจำนี้ถูกจำกัดความสามารถและความนิยมนั่นคือ ราคาของหน่วยความจำที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับเป็นหน่วยความจำที่รองรับ อุปกรณ์มัลติมีเดียเฉพาะทางค่าย Sony เท่านั้น แต่ถึงกระนั้นทางโซนี่เองก็ได้ ขายสิทธิในการผลิตเมโมรีสติ๊กให้กับบริษัทภายนอกอื่นๆ ซึ่งอาจเป็น ทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานหน่วยความจำ และเมื่อใดที่ข้อจำกัดเหล่านี้ถูกเปิดออก รับรองได้ว่านี่อาจเป็นหน่วยความจำที่จะได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานทั่วโลก มากขึ้นจนอยู่ในอันดับต้นๆ เลยทีเดียว

XD Picture Card (Extra Digital)

XD Picture Card
           เอ็กซ์ดีการ์ด เป็นหน่วยความจำสำหรับรองรับอุปกรณ์มัลติมีเดียที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ล่าสุดโดยบริษัท Fuji และ Olympus ด้วยเหตุผล เพื่อมาลบข้อ จำกัดของหน่วยความจำสมาร์ทมีเดีย และเพื่อรองรับขนาดความจุได้สูงขึ้น อีกทั้ง ทำให้หน่วยความจำนี้มีขนาดที่เล็ก และบางกว่าหน่วยความจำทั้งหมดที่เคย มีมา ด้วยคุณสมบัติของหน่วยความจำชนิดนี้คือบันทึกและ อ่านด้วยความเร็วที่สูงจึงสามารถบันทึกข้อมูลได้ที่อัตรา ความเร็ว 5 เมกกะไบท์ต่อวินาที
           ด้วยจุดเด่นของหน่วยความจำที่มีความเร็ว ในการบันทึก ข้อมูลสูงจึงช่วยให้ผู้ใช้งานถ่ายรูปได้อย่างต่อเนื่อง และพร้อมใช้งานในการถ่ายรูปต่อไปทันที โดยไม่ต้องรอเวลาให้บันทึกเสร็จก่อน (ขึ้นอยู่กับความเร็วของการประมวลผลโดยซีพียูของกล้องด้วย) ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพและความสามารถรวม ถึงขนาดที่ โดดเด่นแต่เอ็กซ์ดีการ์ดยังมีข้อด้อยอยู่ที่ราคาของ ตัวการ์ดนี้ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับหน่วยความจำ อื่นๆ แต่โดยรวมแล้วถือว่าความ สามารถและขนาด รูปร่างของหน่วยความจำนี้จะเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งาน อุปกรณ์มัลติมีเดียในอีกไม่ช้านี้อย่างแน่นอน ซึ่งในอนาคตอันใกล้หน่วยความจำชนิด นี้จะสามารถขยายขนาดความจุ ไปได้ถึงระดับ 8 กิกะไบต์เลยทีเดียว
           นอกจากหน่วยความจำที่รองรับการทำงานของอุปกรณ์มัลติมีเดียที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังมีอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ สำหรับอุปกรณ์มัลติมีเดียนั่น คือ Card Reader ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่างหน่วยความจำกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ โดยอาศัยพอร์ต USB ในการทำงานโดยจะ รองรับคุณสมบัติของหน่วยความจำตามผู้ผลิต ทั้งที่สามารถรองรับหน่วยความจำได้เพียงชนิดเดียวจนถึงสามารถรองรับได้ทั้งหมด จุดเด่นของอุปกรณ์ Card Reader นอกจากประสิทธิภาพการทำงานที่รองรับ หน่วยความจำได้หลากหลายแล้ว ยังไม่ต้องอาศัยพลังงานในการทำงานอีกด้วย
Card Reader
           ด้วยคุณสมบัติและประสิทธิภาพการทำงาน ของหน่วยความจำเหล่านี้ที่สามารถรองรับข้อมูลได้มากถึงระดับกิกะไบต์ อัตราความเร็วในการบันทึกที่รวด เร็ว จึงไม่ต้องสงสัยถึงสาเหตุที่ผู้ใช้งาน อุปกรณ์มัลติมีเดียมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมาก สำหรับใครที่กำลังเป็นหนึ่งในผู้ที่นิยมอุปกรณ์ มัลติมีเดียประเภทใดก็ตาม เพื่อ การทำงานที่ดีของอุปกรณ์ของคุณสละเวลาสักนิด ศึกษาการทำงานของอุปกรณ์และหน่วยความจำเพื่อความคุ้มค่า และประโยชน์ ใช้สอยที่คุณจะได้รับจากอุปกรณ์เหล่านั้น และที่ขาดเสียมิได้นั่นก็คือราคาอุปกรณ์ที่ถูกใจและการรับประกันสินค้าที่ดี นั่นเอง

5.4 DVD-ROM Drive

DVD-ROM (Digital Video Disc-ROM)
      อุปกรณ์บันทึกข้อมูลคล้ายๆ กับ CD-ROM อีกแบบหนึ่ง แต่ข้อมูลที่เก็บมักจะเป็นข้อมูลเกี่ยวภาพ และเสียงที่ต้องการความคมชัดสูง มีความจุ 4.7 GB มากกว่า CD ถึง 7-10 เท่า อย่างไรก็ตามก็ยังต้องอาศัยไดร์ฟเฉพาะในการเรียกดู ซึ่งใช้ได้กับ DVD และแผ่น CD ทั่วไปด้วย ทั้งนี้เครื่องอ่าน DVD จะมีความเร็วไม่มากนัก และบางรุ่นก็สามารถใส่แผ่นได้มากกว่า 1 แผ่น และเครื่องจะเลือกแผ่นอัตโนมัติ เรียกว่า Juke-boxes 

DVD

หลักการการเพิ่มความจุของ DVD ROM สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
  • การลดขนาดหลุม (พิท) เนื่องจากขนาดหลุมของซีดีรอมมีขนาดใหญ่ ทำให้ในแผ่น ซีดีรอม 1 แผ่นนั้นบรรจุหลุม (พิท) ได้จำนวนจำกัด ดังนั้น ดีวีดี จึงได้มีการลดขนาดของหลุม โดยใน 1 หลุม ของดีวีดีรอม นั้นจะมีความกว้างประมาณ 0.6 ไมครอน
  • การเพิ่มชั้นของการบันทึกข้อมูลของดีวีดี นั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 ชั้น โดยในซีดีรอมปรกตินั้นจะสามารถบันทึกข้อมูลได้แค่บริเวณพื้นผิวของ แผ่นเท่านั้น แต่ ดีวีดีรอม นั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 2 ชั้น(Layer) ในหน้าเดียว
  • การเพิ่มด้านในการบันทึกข้อมูล ดีวีดีรอมสามารถเขียนข้อมูได้ทั้งด้านบน และด้านล่างของแผ่น ทำให้ใน 1 แผ่นนั้นสามารถเขียนข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

5.3 ฮาร์ดดิสค์ (Hard disk)

ลักษณะทั่วไป
        ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์         แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์         เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้าจานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
 
     

       ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัดเรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว




จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน



           

           จากรูปแสดงฮาร์ดดิสค์ที่มีแผ่นจาน 2 แผ่น พร้อมการกำกับชื่อแผ่นและหน้าของดิสค์ ผิวของแผ่นจานกับหัวอ่านเขียนจะอยู่เกือบชิดติดกัน คือห่างกันเพียงหนึ่งในแสนของนิ้ว และระยะห่างนี้ ในระหว่างแทร็กต่าง ๆ ควรสม่ำเสมอเท่ากัน ซึ่งกลไกของเครื่องและการประกอบฮาร์ดดิสค์ต้องละเอียดแม่นยำมาก การหมุนอย่างรวดเร็วของแผ่นจาน ทำให้หัวอ่านเขียนแยกห่างจากผิวจาน ด้วยแรงลมหมุนของจาน แต่ถ้าแผ่นจานไม่ได้หมุนหรือปิดเครื่อง หัวอ่านเขียนจะเลื่อนลงชิดกับแผ่นจาน ดังนั้นเวลาเลิกจากการใช้งานเรานิยมเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังบริเวณที่ไม่ได้ใช้เก็บข้อมูลที่เรียกว่า Landing Zone เพื่อว่าถ้าเกิดการกระแทรกของหัวอ่านเขียนและผิวหน้าแผ่นจานก็จะไม่มีผลต่อข้อมูลที่เก็บไว้
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสค์กับหน่วยความจำ
            ฮาร์ดดิสค์ที่ใช้งานประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะต้องมีการ์ดควบคุมฮาร์ดดิสค์มาทำงานร่วม โดยจะเสียบเข้ากับสล้อตที่ยังว่างอยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการอ่านข้อมูลจากดิสค์ หัวอ่านเขียนจะนำข้อมูลที่อ่านได้ส่งผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดรฟ์ไปยังการ์ดควบคุมดิสค์ โดยจะเก็บอยู่ในเนื้อที่ความจำชั่วคราวเพื่อเก็บข้อมูล เรียกบัฟเฟอร์ข้อมูล (Data buffer) ขณะเดียวกันวงจรบนการ์ดควบคุมจะส่งสัญญาณไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ซึ่งก็คือไมโครโปรเซสเซอร์ เบอร์ 8088, 80286 หรือ 80386 เป็นต้น เพื่อให้ตัวซีพียูโอนย้ายข้อมูลจากบัฟเฟอร์ข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร

          

     จากรูปแสดงการโอนย้ายข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสค์กับหน่วยความจำ การโอนย้ายข้อมูลข้างต้นอาจทำได้ 2 วิธี คือ ถ้าเป็นเครื่องรุ่น AT และ PS/2 ตัวซีพียูจะทำงานนั้นโดยตรงผ่านตัวมันไปหน่วยความจำ แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าคือ PC และ XT การโอนย้ายข้อมูลจะกระทำผ่านชิพดีเอ็มเอ (DMA) ที่ย่อมาจาก Direct Memory Access โดยจะโอนย้ายข้อมูลจากบัฟเฟอร์ข้อมูลไปหน่วยความจำหลักไม่ต้องผ่านตัวซีพียูทั้งนี้เพราะตัวซีพียูเบอร์ 8088 ของเครื่องรุ่น XT หรือ PC ทำงานช้า ไม่ทันต่ออัตราความเร็วของการโอนย้ายข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ ข้อมูลที่โอนย้ายไปยังหน่วยความจำแรม จะเก็บในพื้นที่เรียกบัฟเฟอร์ของดอส ซึ่งหนึ่งบัฟเฟอร์จะเก็บข้อมูลจากดิสค์ได้ 1 เซกเตอร์ จำนวนบัฟเฟอร์นี้ผู้ใช้งานควรจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองจากคำสั่ง BUFFERS บรรจุในไฟล์ราว 20 บัฟเฟอร์ เมื่อเราอ่านข้อมูลไฟล์จากดิสค์ไปเก็บในบัฟเฟอร์ของดอส และบรรจุในบัฟเฟอร์จนเต็มครบหมด การโอนย้ายเซกเตอร์ต่อไปจะยึดตามหลักว่า บัฟเฟอร์ใดถูกเรียกใช้จากโปรแกรมใช้งานล่าสุดน้อยที่สุด (least recently accessed) ก็จะถูกแทนที่เขียนทับใหม่ ข้อมูลที่อยู่ในบัฟเฟอร์ดอสจะโอนย้ายไปยังหน่วยความจำอื่นตามความต้องการของโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน
            การบันทึกข้อมูลบนดิสค์ ก็กระทำในลักษณะตรงกันข้ามกับการอ่านข้อมูล โดยโปรแกรมประยุกต์ใข้งานจะแจ้งตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการเขียนไปยังดอส ดอสก็จะโอนย้ายข้อมูลไปยังบัฟเฟอร์และส่งผ่านไปยังบัฟเฟอร์ข้อมูลบนการ์ดควบคุมดิสค์ วงจรบนการ์ดควบคุมดิสค์จะกำหนดแทร็กเซกเตอร์ และหน้าของดิสค์ที่ใช้บันทึก ส่งสัญญาณเพื่อเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ และโอนย้ายข้อมูลจากบัฟเฟอร์ไปเก็บบันทึกในดิสค์

การ์ดควบคุมฮาร์ดดิสค์
            เนื่องจากฮาร์ดดิสค์ไม่สามารถทำงานเก็บข้อมูลเองได้ เราจำเป็นต้องมีการ์ดควบคุมมาบอกการทำงานประกอบด้วย ตามปกติการ์ดนี้จะใช้เสียบเข้าช่องสล้อตสำหรับการเพิ่มขยาย สัญญาณที่เข้าหรือออกจากฮาร์ดดิสค์จะต้องผ่านการ์ดควบคุมนี้ก่อนเสมอ การ์ดควบคุมแต่ละชุดจะมีวิธีการเข้ารหัสเฉพาะสำหรับช่องไดรฟ์ เราไม่สามารถนำการ์ดควบคุมอื่นที่ใช้วิธีการเข้ารหัสที่แตกต่างกันมาอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสค์ ฮาร์ดดิสค์นั้นจะต้องทำการฟอร์แมตใหม่จึงจะใช้งานกับการ์ดควบคุมนั้น ชนิดของการ์ดควบคุมที่นิยมใช้ในปัจจุบันขึ้นกับอินเตอร์รัฟต์ที่มีอยู่ 4 ชนิด คือ               1. ชนิด ST-506/41L                เป็นระบบควบคุมมาตราฐานเริ่มแรกที่ใช้กับเครื่องพีซี มีวิธีการเข้ารหัสแบบ MFM แล้วภายหลังจึงได้ขยายเป็นแบบ RLL และ ARLL ตามเทคโนโลยีของวัสดุที่ใช้ ข้อสังเกตประการหนึ่งที่บอกข้อแตกต่างของการเข้ารหัสแบบ MFM และ RLL คือการแบ่งเซกเตอร์ในแทร็ก ช่องไดรฟ์แบบ MFM จะใช้ 17 คลัสเตอร์ต่อแทร็ค และ ไดรฟ์แบบ RLL จะใช้ 26 คลัสเตอร์ต่อแทร็ค โดยแบบ RLL จะมีความจุได้มากกว่าราว 30% จะตรงกับฮาร์ดดิสค์ช่องไดรฟ์ขนาด 20 เมกะไบต์ของแบบ MFM
 
            2. ชนิด ESDI (enhanced small device interfaues)                เป็นระบบที่สูงขึ้นกว่าระบบมาตราฐาน ST-506 สำหรับไดรฟ์ความจุมากขึ้นและความเร็วสูงขึ้น นับเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใ่ช้กับเครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ 80286 และ 80386 ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า อัตราการโอนย้ายข้อมูลหรือการอ่านข้อมูลจากดิสค์จะเร็วกว่าดิสค์แบบ ST-506 ราว 4 เท่า โดยดิสค์แบบ ST-506 จะใช้กับเครื่องที่ช้ากว่า ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088 การ์ดควบคุมแบบ ESDI สามารถต่อฮาร์ดดิสค์ได้สองตัว

            3. ชนิด SCSI (Small Computer System Interface)                อ่านว่า "SCUZZY" เป็นการ์ดรุ่นใหม่ที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะระบบนี้ไม่เพียงเป็นการ์ดควบคุมฮาร์ดดิสค์ยังเป็นการเชื่อมโยงบัสที่ชาญฉลาด(intelligent) ที่มีโปรเซสเซอร์อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ขนาดและอัตราการอ่านข้อมูลเทียบได้ใกล้เคียงกับ ESDI                ระบบ SCSI นอกจากจะใช้เพื่อควบคุมฮาร์ดดิสค์ เรายังใช้เพื่อการควบคุมอุปกรณ์ต่อเสริมอื่น ๆ ได้ด้วยเช่น โมเด็ม, ซีดีรอม, สแกนเนอร์ และเครื่องพิมพ์ ระบบ SCSI ในหนึ่งการ์ดสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ถึง 8 ตัว โดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะถือเป็นอุปกรณ์ด้วย ดังนั้นจึงเหลือให้เราต่ออุปกรณ์ได้เพิ่มอีก 7 ตัว                ภายใต้ดอส ระบบ SCSI จะให้เราใช้ฮาร์ดดิสค์ได้เพียง 2 ตัว(ตามการอ้างแอดเดรสของไบออส) ถ้าต้องการต่ออุปกรณ์อื่น ๆ เราต้องใช้ดีไวซ์ไดรเวอร์จากบริษัทอื่นมาทำการติดตั้งเสียก่อน

            4. ระบบ IDE (Integrated Drive Electronics)                ระบบนี้จัดเป็นระบบใหม่ที่มีขนาดความจุใกล้เคียงกับสองแบบที่กล่าวมาแล้วคือ ESDI และ SCSI แต่มีราคาต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมใช้บรรจุรวมอยู่ในแผงตัวควบคุม และเหลือสล้อตว่างให้ใช้งานอื่น ๆ ในระบบเก่าก็สามารถใช้ไดรฟ์แบบ IDE นี้ แต่เราต้องเพิ่มการ์ดการเชื่อมโยงเสียบสล้อต

5.2 คีย์บอร์ด

คีย์บอร์ด (Keyboard)


คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 คีย์ ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้


  • 101-key Enhanced keyboard
  • 104-key Windows keyboard
  • 82-key Apple standard keyboard
  • 108-key Apple Extended keyboard
  • Notebook & Palm keyboard ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลัก คือ

  • Typing keys กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ
  • Numeric keypad กลุ่มปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายคำนวณ
  • Function keys กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน F1 - F12
  • Control keys กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ เช่น ลูกศร, Ctrl, Alt เป็นต้น ปุ่มฟังก์ชัน และปุ่มควบคุม ทางบริษัท IBM (ค.ศ. 1986) ได้พัฒนาเพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ด เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้น


การทำงานของคีย์บอร์ด
  • การ ทำงานของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย Microprocessor ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อ ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

  • 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก


  • 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย


  • 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่


  • internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer


คีย์บอร์ดในอนาคต



ปัจจุบัน คีย์บอร์ด มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะยุคโลกไร้พรมแดน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ทำการผลิตคีย์บอร์ด ที่มีปุ่มฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบอีเมล์ และการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ตลอดจนควบคุมระบบมัลติมีเดียต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ดังเช่นรูปที่ปรากฏ




ปัจจุบัน ความต้องการคีย์บอร์ดที่สะดวกต่อการพกพา ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ คือคีย์บอร์ดแบบพับได้ ซึ่งทำได้สารพลาสติกที่มีการใส่วงจรภายใน ที่สามารถพับม้วนได้สะดวก




5.1 เมาส์

 




Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อน เข้าไป จะเป็นตำแหน่งและการ กด Mouse Mouse มีอยู่ด้วยกัน หลายประเภท
     • Mouse แบบปกติที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม 2
     • Mouse แบบไร้สาย (Wireless) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณ และมีตัวรับสัญญาณ ที่ต่อกับเครื่องคอม
    • Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse โดยใช้การอ่านค่าจากการ สะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว
    • Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน Scroll Bar ในโปรแกรม
ประยุกต์ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer นอกจาก Mouse แล้วยังมีอุปกรณ์อีก ประเภทที่เรียกว่า Track Ball ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย Mouse แต่ จะมี Ball อยู่ด้านบนแทนที่จะอยู่ด้านล่าง และเลื่อน Pointer โดยการ ใช้ นิ้วมือกลิ้งไปบน Ball
     เมาส์ คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าแป้นพิมพ์มาก เนื่องจากไม่จ้องจดจำคำสั่งสำหรับป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีรูปร่างโค้งๆ งอๆ เหมือนก้อนสบู่ กลไกภายในจะมีลูกกลิ้งกลมสำหรับหมุนใช้กำหนดตำแหน่ง เพื่อเลือกคำสั่งหรือวาดลายเส้นบนจอภาพ ตำแหน่งจุดตัด X และ Y จากเครื่องมือนี้จะสัมพันธ์กับจุดตัดXและYบนจอภาพทำให้สามารถกำหนดคำสั่ง หรือตำแหน่งลายเส้นตามเงื่อนไขในโปรแกรมได้สะดวก

เมาส์สามารถแบ่งออกตามโครงสร้างและรูปแบบการใช้งานได้ 3 แบบ คือ
     1.เมาส์แบบลูกกลิ้งชนิดตัวเมาส์เคลื่อนที่(BallMouse)อาศัยกำหนด จุดXและYโดยกลิ้งลูกยางทรงกลมไปบนพื้นเรียบ(นิยมใช้แผ่นยางรอง เพื่อป้องกันการลื่น)เมาส์แบบลูกกลิ้งชนิดตัวเมาส์อยู่กับที่(TrackBall) อาศัยลูกยางทรงกลมที่ถูกกลิ้งโดยนิ้วมือผู้ใช้ เพื่อกำหนดจุดตัด X และ Y
     2. โดยทั่วไปมักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหรือในบริเวณที่มีเนื้อที่จำกัด ซึ่งไม่สะดวกที่จะใช้เมาส์แบบเคลื่อนที่ เช่น ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook Computer) หรือ คอมพิวเตอร์แลปทอป (Laptop Computer) เป็นต้น
     3. เมาส์แบบแสง (Optical Mouse) มีลักษณะการใช้งานเช่นเดียวกับ Ball Mouse แต่อาศัยแสงแทนลูกกลิ้งในการกำหนดจุดตัด X และ Y โดยแสงจากตัวเมาส์พุ่งลงสู่พื้นแล้วสะท้อนกลับขึ้นสู่ตัวรับแสงบนตัวเมาส์ อีกครั้ง (แผ่นรองเป็นแบบสะท้อนแสง)

     เมาส์จะมีปุ่มอยู่ด้านบน 2-3 ปุ่ม ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตว่าจะผลิตออกมา เพื่อรองรับโปรแกรมใดบ้าง เนื่องจากบางโปรแกรมอาจต้องใช้ปุ่มกลางในการใช้งาน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วนิยมใช้แค่ปุ่มซ้ายกับปุ่มขวาเท่านั้น การใช้เมาส์ที่ถูกต้อง ควรจับเมาส์ให้พอเหมาะกับอุ้งมือ นิ้วชี้จะอยู่ที่ปุ่มด้านซ้าย ส่วนนิ้วกลางวางที่ปุ่มขวา อุ้งมือสำหรับบังคับให้เลื่อนเมาส์ไปมาได้สะดวก เมื่อเราเลื่อนเมาส์จะพบตัวชี้เมาส์วิ่งไปมาบนจอภาพ แสดงว่าเมาส์กำลังทำงานอยู่ตามปกติ
การใช้เมาส์มีลักษณะดังนี้
     1.คลิก(Click)คือการกดเมาส์ปุ้มซ้ายหนึ่งครั้งจะเสียงดังคลิกขึ้นแล้ว ปล่อยอย่างรวดเร็วการคลิกมีจุดมุ่งหมายเพื่อเลือกคำสั่งหรือเลือกส่วนต่างๆ ในโปรแกรม
     2. ดับเบิลคลิก (Double Click) คือ การกดเมาส์ปุ่มซ้ายติดกัน 2 ครั้งอย่างรวดเร็วใช้เพื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา
     3. ลากแล้วปล่อย (Drag and Drop) คือ การเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปชี้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของไอคอน หรือคำสั่งที่ต้องการแล้วกดเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วปล่อยเมาส์
     4. คลิกเมาส์ปุ่มขวา (Right Click) คือ การคลิกเมาส์ที่ปุ่มขวาหนึ่งครั้ง ใช้เพื่อเปิดเมนูย่อยขึ้นมา นิยมใช้ในการเปิดโปรแกรม Windows

     การใช้เมาส์มักจะใช้แผ่นรองเมาส์ซึ่งเป็นฟองน้ำรูปสี่เหลี่ยมเพื่อ ป้องกันสิ่งสกปรกไม่ใช้เกาะติดลูกกลิ้งหากลูกกลิ้งสกปรกจะทำให้ฝืดเมาส์ เคลื่อนที่ลำบาก การทำความสะอาด สามารถถอดลูกกลิ้งออกมาทำความสะอาดได้ และควรทำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้สกปรกมากเกินไป